Skip to main content

Posts

Showing posts from March, 2012

NHS UK การรักษาพยาบาลในอังกฤษ เวลส์ สก็อตแลนด์และไอร์แลนด์เหนือ

การรักษาพยาบาลในอังกฤษ เวลส์ สก็อตแลนด์และไอร์แลนด์เหนือ รวบรวม แปลและเรียบเรียงข้อมูลโดย Aphrodite บทความนี้เหมาะกับผู้ที่มาอาศัยในสหราชอาณาจักรและผู้ที่ต้องการสอบ Life in the UK Test สามารถเลือกคลิกตรงหัวข้อเพื่ออ่านบทความตามที่คุณต้องการค่ะ 1. การรักษาพยาบาลในอังกฤษ เวลส์ สก็อตแลนด์และไอร์แลนด์เหนือ 2. NHS Medical Card การขอบัตรเพื่อแสดงสิทธิ์ในการรักษาพยาบาลในสหราชอาณาจักร 3. Using your Doctor การเข้ารับการรักษาในกรณีเจ็บป่วย(ไปหาหมอ) 4. Charges ค่ารักษาพยาบาล & Prescriptions ใบสั่งยา 5. For Urgent Medical Treatment ในกรณีเจ็บป่วยฉุกเฉิน 6. Going into Hospital การไปรับการรักษาในโรงพยาบาล 7. Dentists ทันตแพทย์ 8. Opticians จักษุแพทย์ 9. Pregnancy and Care with Young Children การตั้งครรภ์และการดูแลเด็กอ่อน ที่มาของแหล่งข้อมูล เว็บไซต์ DirectGov http://www.direct.gov.uk/en/HealthAndWellBeing/index.htm เว็บไซต์ NHS http://www.nhs.uk/Pages/HomePage.aspx หนังสือ A Journey to Citizenship Handbook - 2nd Edition (Life in the UK)

การรักษาพยาบาลในอังกฤษ เวลส์ สก็อตแลนด์และไอร์แลนด์เหนือ

การรักษาพยาบาลในอังกฤษ เวลส์ สก็อตแลนด์และไอร์แลนด์เหนือ บทความลำดับที่ 1 (จาก 9 บทความที่เกี่ยวข้อง) รวบรวม แปล และเรียบเรียงข้อมูลโดย Aphrodite NHS(UK) ย่อมาจาก National Health Service องค์กรที่ให้บริการด้านสุขภาพแห่งชาติของสหราชอาณาจักร คือ National Health Service (NHS) ซึ่งเป็นองค์กรที่ใหญ่และให้บริการทั่วสหราชอาณาจักร NHS จะให้บริการด้านการตรวจรักษาโรคทั้งแก่ประชาชนชาวบริติชและผู้ที่มาอาศัยทำงานและ ตั้งรกรากในสหราชอาณาจักร มีองค์กรบริหารย่อยหลายระดับองค์กรที่ใกล้ตัวเราที่สุดคือ GP และ Surgery หรือ Practice เวลาที่คุณทำงาน รายรับส่วนหนึ่งของคุณจะถูกหักเข้า NHS ทำให้คนทั่วไปในสหราชอาณาจักรสามารถ เข้ารับการตรวจรักษาโรคทั่วไปฟรี (แน่นอนว่ามีข้อยกเว้น ซึ่งได้นำเสนอไว้แล้วในบทความอื่นๆ ที่เกี่ยวข้อง) ทุกคนที่มาอยู่ที่อังกฤษคงเคยได้ยินคนอังกฤษพูดถึง “จีพี” (GPs) เวลาที่ป่วยไข้และต้องการไปหาหมอเพื่อตรวจดูอาการและรับการรักษา GPs ย่อมาจาก General Practitioners หมายถึงแพทย์รักษาไข้นั่นเอง ส่วนสถานที่ทำงานของหมอนั้น หากเล็กกว่าโรงพยาบาล(Hospital) ก็จะเรียกว่า Surgeires หรือ สถานรักษาพยาบาล

NHS Medical Card การขอบัตรเพื่อแสดงสิทธิ์ในการรักษาพยาบาลในสหราชอาณาจักร

NHS Medical Card การขอบัตรเพื่อแสดงสิทธิ์ในการรักษาพยาบาลในสหราชอาณาจักร บทความลำดับที่ 2 (จาก 9 บทความที่เกี่ยวข้อง) รวบรวม แปล และเรียบเรียงข้อมูลโดย Aphrodite ที่มาของข้อมูล How do I register with a GP? จากเว็บไซต์ http://www.nhs.uk   การจะได้บัตรประจำตัวเพื่อแสดงสิทธิ์ในการเข้ารับการรักษานั้นคุณต้องไปลงทะเบียนกับ Surgery หรือ Practice ใกล้บ้าน ซึ่งก่อนจะไป คุณควรได้รับทราบข้อมูลดังนี้ Registration with a GP การลงทะเบียนกับสถานรักษาพยาบาลใกล้บ้าน (Practice) คุณควรไปลงทะเบียนกับจีพีทันทีที่คุณย้ายเข้าไปอยู่ใหม่ ไม่ควรรอจนกว่าจะเกิดการเจ็บป่วย ทั้งสถานพยาบาล (The health centre) หรือศูนย์รักษาพยาบาล (surgery) จะแจ้งให้คุณทราบว่าคุณต้องใช้เอกสารใดบ้างในการลงทะเบียน โดยปรกติคุณจะได้รับบัตรประจำตัวผู้รับการรักษาพยาบาล หากคุณไม่ได้รับ ก็สามารถขอให้พนักงานต้อนรับของทางสถานพยาบาลให้ฟอร์มคุณมากรอกเพื่ิอส่งเรื่องไปยังศูนย์อนามัยส่วนท้องถิ่น (The local health authority) แล้วทางนั้นก็จะส่งบัตรประจำตัวผู้รับการรักษาพยาบาลให้คุณ ก่อนที่คุณจะลงทะเบียน คุณควรสอบถามทางศูนย์รักษาพยาบาล (surgery) ให้แ

Using your doctor การเข้ารับการรักษาในกรณีเจ็บป่วยในอังกฤษ เวลส์ สก็อตแลนด์และไอร์แลนด์เหนือ

Using your doctor การเข้ารับการรักษาในกรณีเจ็บป่วย (ไปหาหมอ ) บทความลำดับที่ 3 (จาก 9 บทความที่เกี่ยวข้อง) รวบรวม แปล และเรียบเรียงข้อมูลโดย Aphrodite ที่มาของข้อมูล   หนังสือ A Journey to Citizenship Handbook - 2nd Edition (Life in the UK) ภาพจาก Grays- Anatomy ผู้ที่ลงทะเบียนเพื่อเข้ารับการรักษาแล้วจะได้รับการตรวจร่างการและรักษาพยาบาลฟรี แต่ คุณควรต้องทำการนัดหมายล่วงหน้าทางโทรศัพท์ก่อน เว้นเสียแต่ว่าคุณเจ็บป่วยมากแต่ไม่ถึงกับต้องเข้าโรงพยาบาล ก็สามารถโทรนัดแบบ Urgent  Appointment หรือไปโดยไม่นัด( Walk in) แต่คุณอาจไม่ได้เข้ารักษากับหมอประจำตัวของคุุณและอาจต้องรอนาน   หากนัดแล้วคุณไม่สามารถไปได้ตามนัด คุณจำเป็นต้องโทรไปยกเลิกนัด สำคัญมาก เพราะคนอื่นๆ ที่เจ็บป่วยจะได้ไม่เสียสิทธิในการรับการรักษาในกรณีที่คุณไม่มีความจำเป็น หากคุณกังวลว่าจะไม่เข้าใจภาษาอังกฤษ คุณสามารถพาคนที่รู้ภาษาอังกฤษไปด้วย หรือไม่ก็ขอล่ามแปลที่เคาน์เตอร์ประชาสัมพันธ์ หากคุณป่วยมากเจียนตายและไม่มีใครอยู่บ้าน สามารถโทรไปที่999 คุณต้องเข้าใจว่าการโทรหา 999 นั้นเหมือน 191 ดังนั้นหากไม่จำเป็นจริงๆ หรือไม่ถึงชีวิตจ

Charges ค่ารักษาพยาบาล & Prescriptions ใบสั่งยาในอังกฤษและ UK

Charges ค่ารักษาพยาบาล & Prescriptions ใบสั่งยา บทความลำดับที่ 4 (จาก 9 บทความที่เกี่ยวข้อง) รวบรวม แปล และเรียบเรียงข้อมูลโดย Aphrodite ที่มาของข้อมูล   หนังสือ A Journey to Citizenship Handbook - 2nd Edition (Life in the UK) คุณไม่ต้องเสียค่ารักษาพยาบาลแต่คุณอาจต้องเสียค่ายาสำหรับยาบางประเภท เช่น วัคซีนในกรณีที่ต้องการฉีดก่อนเดินทางไปต่างประเทศ หากหมอประจำตัวของคุณเห็นว่าคุณต้องใช้ยา หมอก็จะเขียนใบสั่งยา(Prescription)ให้ ให้คุณนำใบสั่งยาไปรับยาได้ที่เภสัชกร Chemist ร้านขายยา(Pharmacy) ทั้งนี้คุณสามารถนำใบสั่งยาไปเบิกยาได้ที่ Sainsbury’s, ASDA สาขาใกล้บ้าน หากคุณต้องใช้ยาเป็นประจำคุณควรต้องทำก่อนยาหมด เพราะระหว่างการรับยาที่ซุปเปอร์สโตร์ คุณต้องรออย่างน้อย 7  วัน ส่วนยาคุมกำเนิด ถุงยางอนามัย ชุดอุปกรณ์หยุดสูบบุหรี่(Quit Kit)คุณสามารถขอรับได้ที่ Surgery Prescriptions ใบสั่งยา คุณอาจไม่ต้องเสียค่ารักษาแต่คุณอาจต้องเสียค่ายา - ใบสั่งยาจากหมดจะฟรี หาก - คุณมีอายุต่ำกว่า 16 หรือ 25 ปีในเวลส์ - มีอายุต่ำกว่า 19 ปีและเรียนเต็มเวลา - อายุมากกว่า 60 ปีขึ้นไป - ตั้งครรภ์ที่อายุครรภ์น้อยกว

For Urgent Medical Treatment ในกรณีเจ็บป่วยฉุกเฉินในอังกฤษและ UK

  For Urgent Medical Treatment ในกรณีเจ็บป่วยฉุกเฉิน    บทความลำดับที่ 5 (จาก 9 บทความที่เกี่ยวข้อง)    รวบรวม แปล และเรียบเรียงข้อมูลโดย Aphrodite     ที่มาของข้อมูล หนังสือ A Journey to Citizenship Handbook - 2nd Edition (Life in the UK) - ให้ติดต่อหมอประจำตัวของคุณ - ให้ไปยังแผนก ผู้ป่วยฉุกเฉินและอุบัติเหตุ (A&E) ยังโรงพยาบาลที่ใกล้ที่สุด -    โทรเ รียก 999 ไม่มีค่าใช้จ่าย ทั้งนี้ต้องเป็นการเจ็บป่วยถึงชีวิตเท่านั้น ป้ายแสดงตำแหน่งโรงพยาบาลและแผนกฉุกเฉิน สายด่วน NHS ให้บริการตลอด 24 ชั่วโมงและจะให้ข้อมูลเฉพาะโรคไป หมายเลขโทรศัพท์คือ 0845 46 47 ทั้งนี้คุณสามารถขอรับคำปรึกษาเป็นภาษาของคุณเอง ในสก็อตแลนด์สามารถดูข้อมูลอาหารของโรคจากสายด่วน NHS24 ได้ที่24 www.nhs24.com หรือที่หมายเลขโทรศัพท์ 0845 24 24 24 ออนไล์สายตรงของ NHS( NHS Direct Online ) เป็นเว็บไซต์ที่ให้บริการข้อมูลเกี่ยวกับการให้บริการการรักษาและภาวะการเจ็บป่วย(อาการ)และการรักษา ส่วนศูนย์การเข้ารับการรักษาโดยไม่ได้นัดหมายล่วงหน้า( NHS walk-in centres ) (คนไทยน่าจะเรียกคลินิกพิเศษ - Aphrodite) เป็นการให้การรักษาพยาบาล

Going into Hospital in the UK

Going into Hospital การไปรับการรักษาในโรงพยาบาล    บทความลำดับที่ 6 (จาก 9 บทความที่เกี่ยวข้อง)   รวบรวม แปล และเรียบเรียงข้อมูลโดย Aphrodite     ที่มาของข้อมูล หนังสือ A Journey to Citizenship Handbook - 2nd Edition (Life in the UK) เข้าโรงพยาบาลในอังกฤษและ UK ในกรณีที่คุณต้องเข้ารับการตรวจรักษาด้วยอาการป่วยไม่สาหัสที่โรงพยาบาล คุณจะต้องไปที่แผนกผู้ป่วยนอกหรือ The Outpatients Department (เหมือนที่เมืองไทย –Aphrodite) หากการรับการรักษาของคุณใช้เวลาสองสามชั่วโมง (เสร็จภายในหนึ่งวัน – Aphrodite) คุณคือผู้ป่วยนอก แต่หากคุณต้องเข้ารับการพักรักษาตัวในโรงพยาบาลคุณคือผู้ป่วยใน (Inpatient.) คุณต้องนำของใช้ส่วนตัวต่างๆ ไปเอง เช่น ผ้าขนหนู ชุดนอน ชุดคลุม สบู่ยาสีฟันและอื่นๆที่เกี่ยวกับการทำความสะอาดร่างกาย คุณจะได้รับประทานอาหารจากทางโรงพยาบาลหากคุณเป็นผู้ป่วยใน หากคุณต้องการคำแนะนำเกี่ยวกับการเข้ารับการรักษาในโรงพยาบาล ให้คุณติดต่อไปได้ที่ Customer Services หรือ The Patient Advice and Liaison Service (PALS) ของโรงพยาบาลที่คุณจะเข้ารับการรักษา กลับสู่หน้าหลักเรื่องการรักษาพยาบาลในอังกฤษ เ

Seeing a dentist in the UK

  Dentists ทันตแพทย์   บทความลำดับที่ 7 (จาก 9 บทความที่เกี่ยวข้อง)   รวบรวม แปล และเรียบเรียงข้อมูลโดย Aphrodite     ที่มาของข้อมูล หนังสือ A Journey to Citizenship Handbook - 2nd Edition (Life in the UK) หาหมอฟันในอังกฤษและ UK คุณจะหาข้อมูลของทันตแพทย์ได้จากห้องสมุดท้องถิ่น และจาก The Citizens Advice Bureau และจากเว็บไซต์ NHS Direct คนทั่วไปต้องเสียค่ารักษาพยาบาลในการทำฟันเอง และทันตแพทย์บางคนก็ทำงานให้กับ NHS และโรงพยาบาลเอกชน ทันตแพทย์ต้องแจ้งวิธีการให้รักษาและค่าธรรมเนียมก่อนที่จะลงมือรักษาคุณ (หากเขาไม่บอก คุณก็ควรถาม ผู้ที่จะได้รับการทำฟันฟรีได้แก่ -           ผู้ที่มีอายุต่ำกว่า 18 ปี (ในเวลส์คือ 25 ปีและ มากกว่า 60 ปี) -           หญิงมีครรภ์และมีลูกอายุต่ำกว่า 12 เดือน -           ผู้ที่ได้รับความช่วยเหลือด้านรายได้ เช่น jobseeker’s Allowance or Pension Credit Guarantee ในสก็อตแลนด์ ไม่มีค่าบริการการตรวจฟันแต่ต้องเสียค่าทำฟัน ยกเว้นกลุ่มที่ได้รับการยกเว้นค่ารักษาเท่านั้น   กลับสู่หน้าหลักเรื่องการรักษาพยาบาลในอังกฤษ เวลส์ สก็อตแลนด์และไอร์แลนด์เหนือ ที่มาของแหล่งข้

ตรวจวัดสายตาในอังกฤษและประเทศอื่นๆ ในสหราชอาณาจักร

Opticiansจักษุแพทย์   บทความลำดับที่ 8 (จาก 9 บทความที่เกี่ยวข้อง)   รวบรวม แปล และเรียบเรียงข้อมูลโดย Aphrodite คนทั่วไปต้องจ่ายค่ารับการตรวจวัดสายตาและตัดแว่น ยกเว้น เด็กและผู้ที่มีอายุ 60 ปีขึ้นไปที่มีอาการป่วยเฉพาะที่ได้รับการยกเว้นค่ารักษา และคนที่ได้รับการช่วยเหลือด้านสวัสดิการ (Benefit) จากรัฐ   ในสก็อตแลนด์ การเข้ารับการตรวจวัดระดับสายตาจะไม่มีค่าตรวจ กลับสู่หน้าหลักเรื่องการรักษาพยาบาลในอังกฤษ เวลส์ สก็อตแลนด์และไอร์แลนด์เหนือ ที่มาของข้อมูล หนังสือ A Journey to Citizenship Handbook - 2nd Edition (Life in the UK)

การรักษาพยาบาลในอังกฤษ เวลส์ สก็อตแลนด์และไอร์แลนด์เหนือ

Pregnancy and Care with Young Children การตั้งครรภ์และการดูแลเด็กอ่อน บทความลำดับที่ 9 (จาก 9 บทความที่เกี่ยวข้อง) รวบรวม แปล และเรียบเรียงข้อมูลโดย Aphrodite ที่มาของข้อมูล หนังสือ A Journey to Citizenship Handbook - 2nd Edition (Life in the UK) ข้อควรรู้เมื่อตั้งครรภ์ในอังกฤษหรือประเทศอื่นๆ ใน UK หากคุณตั้งครรภ์คุณจะได้รับบริการการฝากครรภ์ซึ่งสามารถขอรับบริการได้ที่โรงพยาบาลท้องที่หรือสถานพยาบาลหรือศูนย์รับฝากครรภ์โดยเฉพาะ คุณจะได้รับการดูแลจากแพทย์ (GP)และพยาบาลผดุงครรภ์(Midwife) พยาบาลพดุงครรภ์(Midwife)จะทำงานในโรงพยาบาลและศูนย์พยาบาล แพทย์บางคนจะไม่รับฝากครรภ์ ดังนั้นคุณอาจต้องไปหาแพทย์คนอื่นๆ แทนในระยะที่คุณกำลังตั้งครรภ์ ในสหราชอาณาจักร คนทั่วไปมักมาทำคลอดที่โรงพยาบาล โดยเฉพาะหากเป็นการตั้งครรภ์ครั้งแรก ผู้เป็นพ่อสามารถเข้าไปให้กำลังใจในห้องคลอดได้หากได้รับความยินยอมจากภรรรยา หลังคลอดใหม่ จะมีพยาบาล (health visitor) มาเยี่ยมคุณที่บ้าน เธอหรือเขาเป็นพยาบาลวิชาชีพ และสามารถให้คำแนะนำในการดูแลทารกแก่คุณไได้   การมาเยี่ยมที่บ้านจะเป็นบริการหลังจากที่คุณเพิ่งคลอดใหม่ แต่หลังจากน