พาสปอร์ตกับวีซ่าต่างกันอย่างไร
คนที่ไม่เคยเดินทางไปต่างประเทศหรือกำลังจะเดินทางไปต่างประเทศเป็นครั้งแรกบางคน อาจรู้สึกสับสนระหว่างพาสปอร์ตกับวีซ่า ขออธิบายเพื่อความเข้าใจคร่าวๆ โดยเริ่มที่หนังสือเดินทางหรือพาสปอร์ต (Passport) http:www.consular.go.th |
จะขออธิบายในบริบทที่เกี่ยวข้องเฉพาะคนไทยธรรมดาทั่วไป นะคะ (เพราะอย่าว่าแต่สังคมมีการแบ่งชั้นเลย พาสปอร์ตก็มีการแยกชั้นความสำคัญเช่นกัน) หนังสือเดินทางหรือพาสปอร์ต คือ สมุดประจำตัวที่ผู้ที่เดินทางออกนอกประเทศต้องพกติดตัวเพื่อแสดงหลักฐานความเป็นตัวตน ซึ่งในหนังสือเดินทางหรือพาสปอร์ตจะมีข้อมูลจำเพาะ ประกอบด้วยชื่อ – นามสกุล วัน-เดือน-ปีเกิด จังหวัดที่เกิด เพศ สัญชาติ และข้อมูลทางกายภาพ เป็นต้น ดังนั้นสรุปง่ายๆ ก็คือ เอกสารทางราชการที่แสดงความเป็นตัวเราที่ใช้ในประเทศก็คือบัตรประจำตัวประชาชน ส่วนหลักฐานการแสดงความเป็นตัวตนของเราที่ใช้ในเวลาที่เราอยู่ต่างประเทศก็คือ หนังสือเดินทางหรือพาสปอร์ต ออกให้โดยกรมการกงสุล กระทรวงการต่างประเทศของไทยค่ะ
"ดังนั้น หากต้องการจะเดินทางไปต่างประเทศในกรณีที่ไม่ใช่ชายแดนไทย-ลาว ไทย-กัมพูชา ไทย-มาเลเซียจึงต้องถามตัวเองว่า “เรามีหนังสือเดินทางหรือพาสปอร์ตแล้วหรือยัง” นั่นคือเอกสารสำคัญชิ้นแรกที่ท่านต้องทำ"
หนังสือเดินทางธรรมดาในปัจจุบันจะเป็นแบบอิเล็กทรอนิกส์หรือที่เรียกว่า อี-พาสปอร์ต (E-Passport)
ซึ่งจะมีข้อมูลทางชีวภาพ (ส่วนสูง น้ำหนัก ลายนิ้วมือ เป็นต้น)
วีซ่าคืออะไร
วีซ่า(Visa) คือ หลักฐานที่แสดงการอนุญาตจากสถานทูตหรือสถานกงสุลของประเทศนั้นๆ ที่อยู่ในประเทศไทยว่าท่านได้รับอนุญาตในขั้นเบื้องต้นให้สามารถเดินทางเข้า – ออก พำนักเพื่อ ท่องเที่ยว รอเปลี่ยนเครื่องบิน ทำธุรกิจการเรียนและอาศัยในประเทศนั้นๆ ได้ตามระยะเวลาที่ระบุไว้ในวีซ่า ดังนั้น วีซ่าจึงมีหลายประเทศหลายราคาเหมือนตั๋วรถไฟ – เครื่องบิน พูดง่ายๆ ก็คือ วีซ่าคือตั๋วเข้าประเทศนั่นเอง หากไม่มีก็อดเข้า จำนวนการเข้า-ออกและเวลาที่พำนักนั้นขึ้นอยู่กับทางสถานทูตหรือสถานกงสุลของประเทศนั้นๆ ที่ตั้งอยู่ในประเทศไทยอนุญาต
อ่านต่อ การทำพาสปอร์ตครั้งแรกและการต่ออายุพาสปอร์ต
อ่านต่อ การทำพาสปอร์ตครั้งแรกและการต่ออายุพาสปอร์ต
Comments
Post a Comment