Skip to main content

The Royal Wedding เจ้าชายวิลเลียม – เคท ตอนที่ 1 Royal Wedding Part I


The Royal Wedding UnhideWhenUsed="false" Name="Medium Shading 2 Accent 3"/>
เมื่อสองวันก่อน เราสองคนได้รับการ์ดเชิญให้ไปร่วมงานเฉลิมฉลองพิธีอภิเษกสมรสระหว่างเจ้าชายวิลเลียมและเคท มิลเดิลทัน ในวันที่ 29 เมษายน 2554 ที่กำลังจะมาถึงนี้ เสียดายแต่เพียงอย่างเดียวว่าการ์ดเชิญนี้ไม่ได้มาจากสำนักพระราชวังของอังกฤษ แต่มาจากเพื่อนบ้านของเราเอง
      ในวันสำคัญดังกล่าว ประชาชนชาวอังกฤษสามารถจัดงานฉลองขึ้นที่บ้านของตนได้ และสามารถแสดงความยินดีหรือความจงรักภักดีได้โดยการประดับธงชาติไว้หน้าบ้าน หรือรอบบ้านแล้วแต่ความสะดวก ดังนั้นเมื่อขับรถไปตามไฮสตรีท (High Street) ก็จะเห็นบางร้านมีการประดับธงไว้อย่างสวยงาม
      เหตุที่ใช้คำว่า “บาง” นั่นก็เพราะ คนอังกฤษแบ่งเป็นสามฝ่าย คือฝ่ายที่เรียกว่า Royalist คือ เทิดทูนสถาบันพระมหากษัตริย์หรือจะพูดให้ถูกคือสมเด็จพระราชินี เพราะเห็นว่าการมีระบบกษัตริย์เป็นสิ่งที่ทำให้อังกฤษเป็นอังกฤษ คนกลุ่มนี้ส่วนใหญ่เป็นคนที่มีส่วนเกี่ยวข้องกับสงครามโลกครั้งที่สองที่กษัตริย์ในตอนนั้นมีบทบาทในการเป็นผู้นำประเทศอย่างเด่นชัด หาดูตัวอย่างได้จาก The King’s speech ส่วนคนในกลุ่มนี้ที่อายุน้อยเห็นว่า การมีชีวิตที่หรูหราสะดวกสบายเหมือนในเทพนิยาย อีกฝ่ายคือฝ่ายกลาง คือ ไม่ถึงกับเทิดทูนและก็ไม่ได้ต่อต้านสมเด็จพระราชินีและราชนิกูลไปเสียทุกเรื่อง    ฝ่ายที่สาม สำนักข่าวบีบีซีที่นี่เรียก กลุ่มคนที่ต่อต้านสถาบัน หรือ Anti – monarchy Republican ซึ่งเป็นฝ่ายที่เริ่มออกมาเคลื่อนไหว ตั้งแต่ที่รัฐบาลของเดวิด คาเมรอนออกนโยบาย ตัดงบประมาณส่วนที่เป็นกองทุนให้นักศึกษากู้ยืม (น่าแปลกที่เดวิดเห็นว่าการรบกับลิเบียสำคัญกว่าการศึกษาของคนในประเทศตนเอง) และคนบางส่วนในฝ่ายนี้ก็ไม่เห็นด้วยกับการปกครองที่ประชาชนต้องจ่ายภาษีให้แก่สถาบันสมเด็จพระราชินีที่ไม่ได้ประกอบอาชีพแต่มีชีวิตที่สุขสบาย อย่างไรก็ดี การที่มีคน “บางส่วน” นี้อยู่ในประเทศ สมเด็จพระราชินีและราชนิกูลจึงต้องเริ่มจ่ายภาษีให้แก่รัฐบาล ดังนั้นแม้ว่ารัฐบาลจะประกาศให้วันศุกร์ที่ 29 เมษายนเป็นวันหยุดพิเศษอีกหนึ่งวัน ซึ่งหมายความว่าคนอังกฤษหรือคนในสหราชอาณาจักรจะมีวันหยุดติดต่อกันตั้งแต่ 29 เม.ย. –1 พ.ค. แต่คนกลุ่มนี้ก็เห็นว่าการที่รัฐบาลทำอย่างนั้นเป็นเรื่องโง่เขลาไร้สาระ
       กลับมาที่พิธีอภิเษก งานเฉลิมฉลองพิธีอภิเษกสมรสระหว่างเจ้าชายวิลเลียมและเคท มิลเดิลทันส์ ในวันที่ 29 เมษายน 2554 ที่กำลังจะมาถึงนี้ คนอังกฤษเรียกว่า The Royal Wedding ตอนที่ทั้งสองออกมาประกาศการหมั้นอย่างเป็นทางการผ่านสถานีโทรทัศน์ บีบีซี 2 เมื่อวันคืนวันอังคารที่ 16 พฤศจิกายน 2553 ที่ผ่านมา หลังจากที่เจ้าชายวิลเลียมส์ขอเคทแต่งงานระหว่างที่ทั้งสองไปพักผ่อนที่ประเทศเคนยา เมื่อเดือนตุลาคม 2553 หลังจากนั้น ก็มีคนสองฝ่ายออกมาแสดงความเห็น เกี่ยวกับประชาชนตาดำที่จ่ายภาษีให้แก่รัฐ หรือ แท็กซ์ เพเยอร์ (Tax Payer)ต้องมารับภาระค่างานแต่งงานของทั้งสองหรือไม่ เพราะในขณะนั้น รัฐบาลเพิ่งประกาศนโยบายรัดเข็มขัด ตัดงบประมาณออกมา บางคนพูดประชดติดตลกว่า หากไม่มีเงินจัดงานเองก็ให้ไปจดทะเบียนกันที่สำนักทะเบียนสิ แต่ในที่สุด ทางรัฐบาลก็ออกมาประกาศว่าทางฝ่ายพระบรมวงศานุวงศ์ และทางครอบครัวมิดเดิลทันส์จะร่วมกันออกค่าใช้จ่ายในการจัดงานให้แก่ทั้งคู่ แต่ที่ประชาชนผู้เสียภาษีต้องจ่ายคือค่าเสียเวลาในที่เนื่องมาจากการรักษาความปลอดภัยและค่าเดินทางหากต้องการมาร่วมฉลองในวันงานแต่งงานที่จะมีขึ้น
     การประกาศการหมั้น ทำให้มีทั้งฝ่ายที่แสดงความยินดี และฝ่ายที่เห็นว่าชีวิตสมรสของทั้งคู่จะลงเอยเหมือนเจ้าฟ้าชายชาร์ลกับเจ้าหญิงแห่งเวลส์หรือไม่ที่เห็นได้ชัดคือบิช็อพแห่งวิลเลสเด็น พีท โบรดเบ็นท์ ซึ่งออกมาแสดงความคิดเห็นและวิจารณ์พระบรมวงศานุวงศ์ที่ส่วนใหญ่จะจบลงด้วยการหย่าร้าง คู่ล่าสุดก็คือเจ้าฟ้าชายชาร์ลกับเจ้าหญิงแห่งเวลส์ และลงท้ายด้วยการสบประมาทว่า คู่ของเจ้าชายวิลเลียมส์ และเคทอาจอยู่กินกันได้แค่เจ็ดปี
    หลังจากนั้นคงเดาได้ว่าเกิดอะไรขึ้นกับบิช็อพท่านนี้ ใช่แล้วล่ะ ในวันต่อมา ท่านก็ออกมาเขียนข้อความเป็นเชิงขอโทษ แต่ก็ยังโดนแบนไม่ให้ออกงานจนกว่าจะลบข้อความออกจากเฟสบุ๊ค ในที่สุดท่านก็เขียนข้อความใหม่ว่า ท่านเสียใจกับภาษาที่ท่านใช้และเนื้อหาของสิ่งที่เขียน และจบลงด้วยการอวยพรให้ทั้งคู่ครองรักกันอย่างยืนยาวและมีความสุข และท่านจะสวดมนต์ขอพรให้ทั้งคู่

อ่านต่อ ตอนที่สอง วันประกาศการหมั้นอย่างเป็นทางการ









Comments

Popular posts from this blog

ตัวอย่างแผนการเดินทางท่องเที่ยวอังกฤษและประเทศในสหราชอาณาจักร Trip Itinerary

ตัวอย่างแผนการเดินทางอังกฤษและประเทศในสหราชอาณาจักร Itinerary และดาวน์โหลดฟรี   โดย Aphrodite แผนการเดินทางท่องเที่ยวหรือ Itinerary นั้นครอบคลุมเอกสารต่อไปนี้ 1. B ookings or tickets for any excursions, trips and outings ใบจอง ตั๋ว ทัศนาจร การเดินทางระยะยาวและการเดินทางท่องเที่ยวระยะสั้น การเดินทางระยะยาวและแบบวันเดียว 2. E- mail conversations about any excursions, trips and outings อีเมลที่แสดงถึงการติดต่อสอบถามเกี่ยวกับการเดินทางท่องเที่ยวระยะสั้น การเดินทางระยะยาวและแบบวันเดียว 3. T ravel agent bookings ใบจองการเดินทางจากตัวแทนบริษัทจัดทัวร์ (หากไปกับทัวร์) ผู้ที่เดินทางท่องเที่ยวด้วยตนเองหรือเพื่อนนำเที่ยว ควรมีการเขียนแผนการเดินทาง Trip Itinerary   อย่างคร่าวๆ เอาไว้ด้วย นอกจากนั้น การเขียนแผนการเดินทางท่องเที่ยวนั้นไม่มีรูปแบบที่ตายตัวแต่อย่างใด คุณสามารถออกแบบเองได้ วันนี้ Aphrodite ออกแบบแผนการเดินทางท่องเที่ยวสถานที่ที่น่าสนใจในลอนดอนมาให้ดูเป็นตัวอย่าง คุณสามารถ Copy รายละเอียดไปจากบล้อก หรือหากต้องการดาวน์โหลดตัวอย่างก็สามารถคลิกที่ลิงก์ข้างล่างได้ 

Free Thai - English Translation ประโยคนี้เขียนเป็นภาษาอังกฤษว่า

บล้อกนี้ เป็นการให้คำแนะนำเกี่ยวกับการเปลี่ยนประโยคภาษาไทยเป็นภาษาอังกฤษค่ะ   โดย Aphrodite เริ่มกันที่ประโยคว่า ฉันจะพาแม่ไปหาหมอ ภาษาพูด/เขียนแบบทั่วไป หากต้องการพูดหรือเขียนข้อความสั้นๆ เช่น SMS หรือ จดหมายส่วนตัวถึงเพื่อน หรือคนสนิท สามารถพูดหรือเขียนได้ว่า I'm taking my mum to see a doctor. หรือ ใน UK อาจพูดว่า I’m taking my mum to see a GP . ภาษาเขียนอย่างเป็นทางการ หากต้องการเขียนอย่างเป็นทางการ เช่น จดหมาย หรือการกรอกวีซ่าออนไลน์ สามารถเขียนได้ว่า I would like to take my mother to the UK for private medical treatment. ในกรณีที่ต้องการพาคุณแม่มารับการรักษาจากโรงพยาบาลเอกชนในสหราชอาณาจักร หากใครติดขัด หรือไม่มั่นใจ ว่าจะสื่อสารประโยคภาษาไทยเป็นภาษาอังกฤษว่าอย่างไร สามารถ นำมาถามไว้ที่นี่ได้ โดยไม่มีค่าบริการค่ะ Aphrodite

UK Visa Invitation Letter Forms for Visit Visas (Sample)

UK Visa ตัวอย่างจดหมายเชิญประกอบการขอวีซ่าท่องเที่ยว UK Visa Invitation Letter Forms for Visit Visas (Sample) คุณสามารถเป็นผู้ติดตามอ่านบล็อก( Follower) ผ่านทางอีเมล บัญชีเฟสบุ๊ค และ Twitter เพื่อติดตามบทความใหม่ๆ ได้ ฟรี UK Visa ตัวอย่างจดหมายเชิญประกอบการขอวีซ่าท่องเที่ยว UK Visa Invitation Letter Forms for Visit Visas (Sample) การออกจดหมายเชิญหรือ Invitation Lette r นั้น มีรูปแบบที่ไม่เป็นทางการ นั่นหมายความว่า คุณสามารถร่างจดหมายขึ้นมาเองได้ เช่น อย่างที่ Aphrodite ทำไว้ในบทความนี้ อย่างไรก็ดี หากคุณหรือคนออกจดหมายเชิญต้องการทำเอง คุณควรมั่นใจว่า ในจดหมายนั้น ควรมี รายละเอียด ดังนี้ 1.       หมายเลขพาสปอร์ตของผู้สมัครวีซ่า (Passport No. of applicant) 2.       หมายเลขพาสปอร์ตของผู้ออกจดหมายเชิญ (Passport No. of host) 3.       ความสัมพันธ์ระหว่างผู้ออกจดหมายเชิญและผู้สมัคร (Explain about a relationship between a host and an applicant) 4.       จุดประสงค์เฉพาะในการเชิญ (หากมี) เช่น มาร่วมงานแต่งงาน งานรับปริญญา เป็นต้น (Purpose of invitation if th